Sunday, January 6, 2008

๖๒. หมอเยียวยาสังคม โดย วิจักขณ์ พานิช

จดหมายสนับสนุนการคัดเลือกรางวัลโนเบล สันติภาพ ต่อ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ โดย วิจักขณ์ พานิช

http://contemplativedata.googlepages.com/socialshaman.pdf

Tag ทั้งหมด: โนเบลสันติภาพ, วิจักขณ์ พานิช, สุลักษณ์ ศิวรักษ์, บทความ, หมอเยียวยาสังคม, ธรรมดา, วิถีพุทธ

๖๑. แก้ปัญหาโลกแบบอเมริกัน โดย วิจักขณ์ พานิช

ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้สึก ที่ผู้เขียนได้ติดตามอ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ในงาน Conference of World Affairs ที่เมืองโบลเดอร์ รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา

http://contemplativedata.googlepages.com/americanway_final.pdf

tag ทั้งหมด: วิจักขณ์ พานิช, สุลักษณ์ ศิวรักษ์, บทความแปล, โพธิสัตว์, สังคมอเมริกัน, กระแสหลัก, จักรวรรดินิยม

๖๐. เวียนว่ายอยู่ในหัว โดย เรจินัลด์ เรย์

บทความที่แสดงถึงแนวโน้มการภาวนาในบริบทของสังคมยุควัตถุนิยม บริโภคนิยม ที่กำลังพบกับปัญหาความไม่อยู่กับเนื้อกับตัวของผู้ปฏิบัติ บ่อยครั้งที่เรานั่งสมาธิโดยให้ความสนใจแต่เพียงส่วนคอขึ้นไป พักจิตให้ว่ายเวียนวนอยู่ในหัว ตัดขาดจากชีวิตส่วนอื่นๆ การภาวนาจึงกลับกลายเป็นหนทางเพื่อการแยกขาดออกจากการดำเนินชีวิตในแต่ละวันไปโดยปริยาย เขียนโดย เรจินัลด์ เรย์ แปลและเรียบเรียงโดย วิจักขณ์ พานิช

จาก “The Floating Heads” ในวารสาร “Shambhala Sun” ฉบับเดือนกันยายน ค.ศ. ๒๐๐๒

http://contemplativedata.googlepages.com/floatinghead.pdf

Tag ทั้งหมด: ทวินิยม, บทความแปล, วิจักขณ์ พานิช, เรจินัลด์ เรย์, เวียนว่าย, โกลาหล, ศักยภาพ, จิตภาวนา, กิเลส, ธรรมดา, วิถีแห่งพุทธะ

๕๙. สู่สายธารแห่งพุทธธรรมในโลกสมัยใหม่: บทสัมภาษณ์วิจักขณ์ พานิช

บทสัมภาษณ์วิจักขณ์ พานิช ในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๐ เกี่ยวกับเส้นทางการศึกษาและการปฏิบัติธรรมในบริบทสังคมสมัยใหม่

เรื่อง : เสาวณีย์ เกษมวัฒนา

http://contemplativedata.googlepages.com/vichakinterview2.pdf

Tag ทั้งหมด: บทสัมภาษณ์, พุทธธรรม, วิจักขณ์ พานิช, โพสต์ทูเดย์, เสาวณีย์ เกษมวัฒนา, เพี้ยน, ภาวนา, บาลีสันสกฤต, ตรัสรู้, กระบวนการ, ศาสนา, จิตตปัญญาศึกษา, เรจินัลด์ เรย์, เชอเกียม ตรุงปะ, เสมสิกขาลัย, พุทธทาส

๕๘. ความศักดิ์สิทธิ์ในชีวิตทุกขณะ โดย เรจินัลด์ เรย์

มุมมองของการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันของผู้คนในสังคมสมัยใหม่ บรรยายที่ศูนย์ศัมภาละ ในเมืองโบลเดอร์ รัฐโคโลราโด แปลและเรียบเรียงโดย วิจักขณ์ พานิช

http://contemplativedata.googlepages.com/lsacrednessineveryday.doc

Tag ทั้งหมด: บทความแปล, วิจักขณ์ พานิช, เชอเกียม ตรุงปะ, เรจินัลด์ เรย์, ศักดิ์สิทธิ์, พุทธธรรม, อิสรภาพ, ศักยภาพ, ธรรมดา, ความสิ้นหวัง

๕๗. เผาปิฏกไตรเป็นเชื้อไฟแห่งปัญญา (ตอนที่ ๒) โดย เรจินัลด์ เรย์

สิ่งสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ด้านใน ก็คือ ความรู้จะต้องไม่ถูกยื่นต่อให้กันเหมือนวัตถุ ผู้สอนต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในหัวใจแห่งคำสอน และสามารถส่งผ่านแรงดลใจนั้นไปยังศิษย์ แรงบันดาลใจนี้เองที่จะนำให้ผู้เรียนได้เข้าสู่กระบวนการฝึกฝนตนเอง บ่มเพาะพลังทางปัญญาทั้งจากการฟัง การใคร่ครวญด้วยใจ และการภาวนา

http://contemplativedata.googlepages.com/tripitakapt2.pdf

Tag ทั้งหมด: บทความแปล, วิจักขณ์ พานิช, เรจินัลด์ เรย์, ปัญญาสามขั้น, อริยสัจสี่, จิตภาวนา, กระบวนการด้านใน

๕๖. เผาปิฏกไตรเป็นเชื้อไฟแห่งปัญญา (ตอนที่ ๑) โดย เรจินัลด์ เรย์

บทความแปลที่ให้ความสำคัญกระบวนการการเรียนรู้มากกว่าตัวความรู้ เส้นทางการปฏิบัติมากกว่าความเชื่อหรือหลักธรรมทางศาสนา

เรจินัลด์ เรย์ เขียน
วิจักขณ์ พานิช ถักทอและร้อยเรียง
าก “Books that burn” ในวารสาร “Shambhala Sun” ฉบับเดือนมกราคม ค.ศ. ๒๐๐๔

http://contemplativedata.googlepages.com/tripitakapt1.pdf

Tag ทั้งหมด: บทความแปล, วิจักขณ์ พานิช, หลักธรรม, เรจินัลด์ เรย์, พระไตรปิฏก, อัตตา, การเปลี่ยนแปลงภายใน

๕๕. ธารธรรมสามสาย (ตอนที่ ๓) โดย เรจินัลด์ เรย์

ตอนที่ ๓ ของบทความกล่าวถึงความสำคัญขององค์กรทางศาสนาซึ่งแสดงถึง สายธรรมเชิงอำนาจ โดยเมื่อสายธารเดิมแท้ถูกมองข้ามไม่ให้ความสำคัญเสียแล้ว ความพยายามที่จะส่งผ่านสายการสืบทอด และสายอำนาจก็ไม่มีทางที่จะได้ผล ตรงกันข้ามหากผู้ปฏิบัติมีความแน่วแน่ในการสืบทอดสายธารการตื่นรู้ เขาหรือเธอก็จะกลายเป็นผู้ถือสายการสืบทอดไปโดยปริยาย และหากเขาหรือเธอจำเป็นต้องไปเป็นดำรงตำแหน่งผู้นำในสายอำนาจแห่งสถาบัน ก็เชื่อได้ว่าสถาบันนั้นจะทำหน้าที่รับใช้สายธารแห่งการตื่นรู้เป็นแน่นอน

แปลและเรียบเรียงโดย วิจักขณ์ พานิช

http://contemplativedata.googlepages.com/lineagept3.pdf

Tag ทั้งหมด: บทความแปล, วิจักขณ์ พานิช, สายธรรม, เรจินัลด์ เรย์, ธารธรรม, แม็กซ์ เวเบอร์, พุทธสภาวะ, พุทธธรรม

๕๔. ธารธรรมสามสาย (ตอนที่ ๒) โดย เรจินัลด์ เรย์

ตอนที่ ๒ ของบทความ กล่าวถึงความสำคัญของสายการสืบทอด โดยที่หัวใจของสายการสืบทอดนั้น คือ การให้คุณค่าต่อศักยภาพที่แตกต่างอย่างหลากหลายในตัวปัจเจก อันบ่งบอกถึงความโน้มเอียง สายธารแห่งกรรมในอดีต การถูกจริตในรูปแบบคำสอน สายการปฏิบัติและตัวครูบาอาจารย์ ที่ไม่เหมือนกัน แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้แตกต่างกันในรากฐานแห่งคุณค่าในสายธารเดิมแท้ หน้าที่ของธรรมาจารย์ผู้มีความสามารถก็คือ การค้นหาแนวทาง คำสอน หรือ เทคนิคที่เหมาะสมกับศิษย์แต่ละคน ณ จุดนั้นๆบนการเดินทางของเขา เพื่อที่จะได้ช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ด้านในเบ่งบานในจิตใจศิษย์ผู้นั้นได้อย่างเต็มที่

แปลและเรียบเรียงโดย วิจักขณ์ พานิช

http://contemplativedata.googlepages.com/lineagept2.pdf

Tag ทั้งหมด: บทความแปล, วิจักขณ์ พานิช, สายธรรม, เรจินัลด์ เรย์, ธารธรรม, โพธิจิต, พุทธธรรม, รีเม, ซกเช็น, ศักดิ์สิทธิ์, พุทธทิเบต

๕๓. ธารธรรมสามสาย (ตอนที่๑) โดย เรจินัลด์ เรย์

http://contemplativedata.googlepages.com/lineagept1.pdf

๕๒. บนเส้นทางแห่งการภาวนา (ตอนที่ ๒) โดย เรจินัลด์ เรย์

http://contemplativedata.googlepages.com/dathun2.pdf

๕๑. บนเส้นทางแห่งการภาวนา (ตอนที่ ๑) โดย เรจินัลด์ เรย์

ถ่ายทอดประสบการณ์การฝึกภาวนาเข้มหนึ่งเดือน(dathun) ให้กับคน ๑๕๐ คน ของเรจินัลด์ เรย์ ในรูปแบบของ“การเดินทาง” ที่คนกลุ่มนั้นได้เรียนรู้และค้นพบร่วมกัน

แปลและเรียบเรียง โดย วิจักขณ์ พานิช
จาก “Waiting, Waiting, For What?” ในวารสาร “Shambhala Sun” ฉบับเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๐๒

http://contemplativedata.googlepages.com/dathun1.pdf

Tag ทั้งหมด: การฝึกเข้ม, บทความแปล, จิตภาวนา, วิจักขณ์ พานิช, เรจินัลด์ เรย์, ศักยภาพ, ความวิเวก,

Wednesday, January 2, 2008

๕๐. จิตวิญญาณโยคี โดย เรจินัลด์ เรย์

เรจินัลด์ เรย์ เขียน
วิจักขณ์ พานิช แปลและเรียบเรียง
จาก “The Yogi Spirit” ในวารสาร “Dharma Life” ฉบับฤดูร้อน ปี ค.ศ. ๒๐๐๑

วิถีการปฏิบัติที่ถูกลืมของผู้สละสู่ป่านี้ถือเป็นแนวทางดั้งเดิมอย่างที่สาม เป็นแนวทางเพื่อการเข้าถึงธรรมแห่งการตื่นรู้ ควบคู่ไปกับ วิถีของพระจำวัด ( ผู้ซึ่งเน้นไปที่การศึกษาพระคัมภีร์ และการรักษาศีลข้อวินัยของนักบวช ) และ ฆราวาสผู้ครองเรือน ( ผู้ซึ่งปฏิบัติตามฆราวาสธรรม และให้ความอนุเคราห์ชุมชนสงฆ์ ) เรย์เชื่อว่า การดำเนินรอยตามเส้นทางการฝึกฝนทางจิตวิญญาณที่สวนกระแส ตามอย่างเหล่าโยคีผู้สละสู่ป่า จะเป็นการสืบต่อหัวใจแห่งพุทธธรรมที่แท้จริง

http://contemplativedata.googlepages.com/yogispirit.pdf

๔๙. นิยามธรรม โดย เรจินัลด์ เรย์

เรจินัลด์ เรย์ เขียน
วิจักขณ์ พานิช แปลและเรียบเรียง
จาก “In a Word, Dharma” ในวารสาร “Shambhala Sun” ฉบับเดือนพฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๐๑

สัจธรรมหาได้มีความหมายและก่อให้เกิดคุณค่าที่แท้จริงต่อชีวิตเรา หากมันเป็นเพียงแค่การรวบรวมของหลักการทางนามธรรมแต่ในทางกลับกันหากสัจธรรมแสดงถึงประสบการณ์อันมีชีวิต เส้นทางแห่งการแสวงหาสัจธรรมแม้จะเป็นสิ่งที่เหนือความคาดหวัง เปี่ยมไปด้วยภยันต์อันตราย ความท้าทาย และน่าหวั่นไหว แต่มันคือหนทางเดียวที่จะนำเราสู่การค้นพบความหมายแห่งการมีชีวิตอยู่ เรจินัลด์ เรย์ ให้คำอธิบายความหมายของธรรมะในแง่มุมของธรรมอันเป็นอนันต์ ธรรมในฐานะปรากฏการณ์ ธรรมในฐานะคำสอน และธรรมในฐานะเส้นทางแห่งการการฝึกตน

http://contemplativedata.googlepages.com/worddharma.pdf

๔๘. หลายสิ่งดูจะชัดเจนขึ้นยามเมื่อคุณจนมุม: บทสัมภาษณ์เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช

วิจักขณ์ พานิช แปลและเรียบเรียง
แปลและเรียบเรียงจาก “Things Get Very Clear When You’re Cornered: Interview with Chögyam Trungpa” ในวารสาร “The Laughing Man” ฉบับที่ ๒ ปี ค.ศ. ๑๙๗๖

เชอเกียม ตรุงปะ ได้ตัดผ่านเมฆหมอกความตื่นตาตื่นใจของผู้คนในโลกพุทธศาสนาวัชรยานของทิเบต สู่แก่นธรรมแห่งการฝึกตนที่ผู้คนในทุกชาติ ทุกวัฒนธรรมสามารถเข้าไปสัมผัสได้ในชีวิตนี้

http://contemplativedata.googlepages.com/trungpainterview.pdf

Tag ทั้งหมด: วัชรยาน, วิจักขณ์ พานิช, เชอเกียม ตรุงปะ, มหามุทรา, มหาอติ, ตันตระ, ความตื่น, วัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ, พุทธธรรม

๔๗. สัมผัสพลังแห่งการตื่นรู้ในกาย (ตอนที่ ๔) โดย เรจินัลด์ เรย์

เรจินัลด์ เรย์ เขียน
วิจักขณ์ พานิช แปลและเรียบเรียง
จาก “Touching Enlightenment” ในวารสาร “Tricycle” ฉบับฤดูใบไม้ผลิ ปีค.ศ. ๒๐๐๖

โยคะทิเบตนั้นเต็มไปด้วยเทคนิคภาวนาอันหลากหลาย เพื่อเป้าหมายของการรวมเป็นหนึ่งของกายและจิต ซึ่งก็คือความหมายที่แท้ของการมีสติในทุกขณะ พื้นฐานเริ่มด้วยการสร้างความสัมพันธ์กับธาตุลมในร่างกาย ด้วยการตามลมหายใจออก อันเป็นกระบวนการปกติของระบบหายใจ และการตามลมหายใจเข้า อันเกี่ยวข้องกับพลังชีวิตหรือพลังปราณ ลมหายใจออกโอบอุ้มลมหายใจเข้า ดั่งเปลือกหุ่มแก่นไม้เอาไว้ เมื่อเรากำหนดจิตมาอยู่ที่ลมหายใจออก เราได้เปิดประตูสู่การเข้าถึงลมหายใจเข้า หรือ ปราณ โดยอัตโนมัติ ธรรมชาติของปราณก็คือ ไม่ว่า ณ จุดใดของร่างกาย เพียงแค่เรากำหนดจิตไปรับรู้ เราก็สามารถเดินปราณไปสู่ส่วนนั้นของร่างกายได้

http://contemplativedata.googlepages.com/part4.pdf

๔๖. สัมผัสพลังแห่งการตื่นรู้ในกาย (ตอนที่ ๓) โดย เรจินัลด์ เรย์

เรจินัลด์ เรย์ เขียน
วิจักขณ์ พานิช แปลและเรียบเรียง

เมื่อเราค่อยๆฝึกสติให้กลับสู่ร่างกาย เราจะพบว่าบางสิ่งบางอย่างที่ต่างออกไปค่อยๆปรากฏขึ้น เราเริ่มที่จะมองเห็นในความมืด เราเริ่มที่จะตระหนักรู้ถึงโลกอันกว้างใหญ่เหนือจิตสำนึกในกรอบแห่งตัวตนที่คับแคบ โลกใบน้อยค่อยๆคลี่ให้เราได้เห็น สัมผัส และเรียนรู้ สู่มณฑลแห่งการตระหนักรู้ที่กว้างใหญ่ไพศาล มันไม่ใช่สิ่งที่เราสามารถจะกะเกณฑ์ ควบคุมให้เกิดขึ้น ตรงกันข้ามเพียงเราผ่อนคลาย ข้อมูลจากสายธารแห่งปัญญาจะค่อยๆผ่านเข้ามาสู่ชีวิตของเราอย่างเป็นธรรมชาติ เรจินัลด์ เรย์ ได้แนะนำเทคนิคพื้นฐานของการกลับมาใส่ใจกับสัญชาตญาณแห่งการตื่นรู้ในกาย

http://contemplativedata.googlepages.com/part3.pdf

๔๕. สัมผัสพลังแห่งการตื่นรู้ในกาย (ตอนที่ ๒) โดย เรจินัลด์ เรย์

ณ วินาทีที่กายกับจิตรวมเป็นหนึ่ง สติกลับมาอยู่กับเนื้อกับตัวทั่วสรรพางค์ ณ ปัจจุบันขณะ เราจะสัมผัสได้ถึงพลังแห่งปัญญาอันยิ่งใหญ่ในทุกอณูรูขุมขน อานุภาพแห่งปัญญาบนพื้นฐานของสติในกายนี่เอง ที่จะเป็นบ่อเกิดแก่ความรักอันยิ่งใหญ่อย่างไม่มีจำกัด

แปลและเรียบเรียงจาก “Touching Enlightenment” ในวารสาร “Tricycle” ฉบับฤดูใบไม้ผลิ ปีค.ศ. ๒๐๐๖
โดย วิจักขณ์ พานิช

http://contemplativedata.googlepages.com/part2.pdf

Tag ทั้งหมด: บทความแปล, วิจักขณ์ พานิช, เรจินัลด์ เรย์, ทางเบี่ยงจิตวิญญาณ, กายาสติ, ตัวตนทางจิตวิญญาณ, พุทธสภาวะ, วัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ, อานาปาณสติ, รู้เนื้อรู้ตัว

๔๔. สัมผัสพลังแห่งการตื่นรู้ในกาย (ตอนที่ ๑) โดย เรจินัลด์ เรย์

ในวิถีปฏิบัติดั้งเดิมของพุทธศาสนา การภาวนาเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องลึกซึ้งกับกายาสติ นั่นคือ การสร้างความสัมพันธ์พื้นฐานกับ ประสาทสัมผัส ประสบการณ์ในทุกอณูรูขุมขนของร่างกาย สัญชาตญาณ ความรู้สึก อารมณ์

http://contemplativedata.googlepages.com/part1.pdf

Tag ทั้งหมด: บทความแปล, วิจักขณ์ พานิช, เรจินัลด์ เรย์, รู้เนื้อรู้ตัว, กายาสติ, หลุดพ้น, รู้แจ้ง, เปล่าเปลือย, ปัจเจกนิยม, พลังแห่งการตื่นรู้

๔๓. ความยุ่งคือความขี้เกียจ โดย เรจินัลด์ เรย์

สะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมสมัยใหม่ที่มองว่าชีวิตจะต้องยุ่งอยู่ตลอดเวลา ผู้คนกลัวที่จะอยู่คนเดียว กลัวที่จะสัมผัสพื้นที่ภายใน หรือความเงียบจากการนั่งอยู่กับตัวเอง

แปลและเรียบเรียงโดย วิจักขณ์ พานิช
จาก “Busy-ness is Laziness” ในวารสาร “Elephant” ฉบับฤดูใบไม้ร่วง ปี ค.ศ. ๒๐๐๕

http://contemplativedata.googlepages.com/busynessislaziness.pdf

Tag ทั้งหมด: จิตภาวนา, วิจักขณ์ พานิช, เรจินัลด์ เรย์, โลกสมัยใหม่, พุทธธรรม, ศักดิ์สิทธิ์, กระบวนการ, ความยุ่ง, จูน ซิงเกอร์, พุทธทิเบต, พื้นที่ว่างภายใน, อิสรภาพ

๔๒. ความกลัวกับความกล้า โดย วิจักขณ์ พานิช

บทกวีที่สะท้อนสุนทรียภาพแห่งการฟังเสียงด้านใน เฝ้ามองการคลี่บานแห่งประสบการณ์ชีวิตในทุกขณะ
http://contemplativedata.googlepages.com/bravefear.pdf

Tag ทั้งหมด: ความสยบยอม, บทกวี, วิจักขณ์ พานิช, อัตตา, เสียงด้านใน, พุทธสภาวะ, อหังการ, ความเปราะบาง

๔๑. อารมณ์: รากฐานแห่งตันตระ

มุมมองของการฝึกจิตภาวนาที่ไม่แยกขาดจากการสร้างความสัมพันธ์กับอารมณ์ โดยมองว่าอารมณ์เป็นพลังงานชีวิตที่หากเราสามารถทำความเข้าใจการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของอารมณ์ได้อย่างถูกต้อง การภาวนาก็จะนำมาซึ่งการเข้าถึงศักยภาพสูงสุดในตัวเรา โดยพลังชีวิตที่ออกจากพื้นที่ว่างของจิตใจสามารถแบ่งได้ออกเป็น ๕ ลักษณะ ได้แก่ พุทธะ วัชระ ปัทมะ รัตนะ และกรรมะ ตามแนวทางของปัญจพุทธกุลหรือพลังปัญญาห้าสี

http://contemplativedata.googlepages.com/emotion.pdf

Tag ทั้งหมด: นาโรปะ, จิตภาวนา, วิจักขณ์ พานิช, อารมณ์, ทีโลปะ, ศักยภาพ, โกลาหล, ปัญจพุทธกุล, วัชระ, รัตนะ, ปัทมะ, กรรมะ, พุทธะ, อาณาปานสติ, ปัญญาห้าสี, พื้นที่ว่างภายใน, ทางเบี่ยงจิตวิญญาณ, ตัวตนทางจิตวิญญาณ

๔๐. ตกหลุมรักเปลี่ยน โดย วิจักขณ์ พานิช

บทความกึ่งบทกวีสะท้อนความรู้สึกและประสบการณ์การเป็นผู้ช่วยสอนภาวนา ให้กับเรจินัลด์ เรย์ เห็นถึงความรื่นรมย์ของการรับฟังเสียงด้านในของตนเองและได้ทำตามแรงบันดาลใจ อย่างไม่สะทกสะท้านต่อคำตัดสินจากผู้อื่น

http://contemplativedata.googlepages.com/fallinginlove.pdf

Tag ทั้งหมด: บทความ, วิจักขณ์ พานิช, เปล่าเปลือย, หมอตำแย, จิตภาวนา, เพี้ยน, วิปลาศ, สุดโต่ง, ธรรมดา

๓๙. ตลาดสดแห่งชีวิต โดย วิจักขณ์ พานิช

ความสดของชีวิตทุกขณะที่สูญหายไปจากสังคมวัตถุนิยม บริโภคนิยม พร้อมๆกับตลาดสด ความสด คือ ความหมายของชีวิตบนวิถีพุทธ ชีวิตที่สดเป็นชีวิตอิสระอันเกิดขึ้นจากการกลับมาตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ที่มีสองมือ สองขา พร้อมที่จะเรียนรู้กับความจริงแห่งชีวิตอย่างตื่นรู้ในทุกวินาที ไม่ต้องวอนขอให้ใครมาช่วยรับผลของสิ่งที่เราเลือกทำ ไม่ต้องขอให้มีอะไรมาคั่นกลางระหว่างตัวเรากับประสบการณ์ตรง จะทำอะไรเราก็รับ จะผิดถูก ดีร้าย ทุกข์สุขเช่นไรก็ขอให้ได้รู้รสด้วยตัวเอง

http://contemplativedata.googlepages.com/freshmarket.pdf

Tag ทั้งหมด: ความสด, ตลาดสด, บทความ, วิจักขณ์ พานิช, วัตถุนิยม, บริโภคนิยม, วิถีพุทธ,

๓๘. จิตตปัญญาศึกษาหรือการศึกษาติดดี? โดย วิจักขณ์ พานิช

บทความที่เตือนให้ตระหนักถึงหลุมพรางที่จิตตปัญญาศึกษาจะต้องมองให้เห็นมิฉะนั้นก็คงเป็นเพียงการศึกษาได้แยกตัวเองออกจากความเป็นจริงที่หลากหลายในปัจเจกบุคคลโดยสมบูรณ์ และเป็นได้แค่เพียง “การศึกษาติดดี” ที่เอาไว้ใช้สำเร็จความใคร่ทางวิชาการของนักปรัชญาการศึกษากลุ่มหนึ่งเพียงเท่านั้น
http://contemplativedata.googlepages.com/goodbadeducation.pdf

Tag ทั้งหมด: การตัดสิน, บทความ, วิจักขณ์ พานิช, ภาวนา, สมมติสัจจะ

๓๗. กึ๋น สมอง และหัวใจในจิตตปัญญาศึกษา

จุดเริ่มต้นของจิตตปัญญาศึกษาไม่ใช่เรื่องของสร้างกฎเกณฑ์ ค่านิยมทางสังคม ความเป็นเลิศทางวิชาการ ความคาดหวังทางศีลธรรม หรือกระทั่งความสูงส่งทางจิตวิญญาณ แต่กลับเป็นเรื่องง่ายๆอย่างการให้ความเคารพแก่ศักยภาพแห่งการเรียนรู้ของคนทุกคนอย่างไร้อคติ ปราศจากการแบ่งแยกอายุ สูงต่ำ ดำขาว มีจน ดีชั่ว ถูกผิด หัวใจของการศึกษาด้านใน มีเพียงกระบวนการการเรียนรู้และเส้นทางการฝึกตนที่มุ่งให้ผู้เรียนได้ค้นหาศักยภาพภายในตนเอง จนกลายเป็นตัวของตัวเองที่สมบูรณ์อย่างที่ไม่จำเป็นต้องไปเปรียบเทียบกับใคร

http://contemplativedata.googlepages.com/gutsandeducation.pdf

Tag ทั้งหมด: จิตตปัญญาศึกษา, บทความ, วิจักขณ์ พานิช, นาลันทา, ปฏิรูปการศึกษา, ปริญญาศึกษา, พุทธธรรม, ภาวนา, พุทธสภาวะ, ธรรมดา,

๓๖. ปฏิวัติจริยธรรมทางสังคมจากภายใน โดย วิจักขณ์ พานิช

การเปลี่ยนแปลงหรือการปฏิรูปสังคม(social transformation) คงเป็นเพียงเรื่องนามธรรมหลอกๆ หากเรายังมองมันเป็นเพียงหลักการวิธีคิดภายนอก อย่างที่ไม่มีวิถีทางของการปฏิบัติภายในเอาเสียเลย ความวุ่นวายของบ้านเมืองที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้ได้สะท้อนถึงวิกฤตการณ์ทางจริยธรรมที่ต้องการการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงภายใน (inner transformation) ในระดับปัจเจกบุคคลอย่างเร่งด่วนที่สุด
http://contemplativedata.googlepages.com/Innertransformation.pdf

Tag ทั้งหมด: จริยธรรม, บทความ, วิจักขณ์ พานิช, เชอเกียม ตรุงปะ, การปฏิรูปสังคม, การเปลี่ยนแปลงด้านใน, จิตสิกขา, รัฐนาวา, ตัวตนทางจิตวิญญาณ, ทางเบี่ยงทางจิตวิญญาณ

๓๕. ประสบการณ์ที่แตกต่างที่มหาวิทยาลัยนาโรปะ

คำบอกเล่าประสบการณ์การเรียนรู้ที่มหาวิทยาลัยนาโรปะในช่วงหนึ่งปีแรกของวิจักขณ์ พานิช ณ การประชุมของกลุ่มจิตวิวัฒน์

http://contemplativedata.googlepages.com/naropajitwiwat.pdf

Tag ทั้งหมด: จิตวิวัฒน์, นาโรปะ, วิจักขณ์ พานิช, สวนโมกข์, จุดเปลี่ยน, เส้นทางการเรียนรู้, ศักดิ์สิทธิ์, อุดมคติ, สุนทรียสนทนา, การศึกษาแนวพุทธ, พุทธธรรม, วัชรยาน, เชอเกียม ตรุงปะ, ภาวนา

๓๔. เลิกถือพุทธ โดย วิจักขณ์ พานิช

การเป็นพุทธกันเพียงแค่ชื่อ ถือกันไว้โดยไม่นำมาปฏิบัติ คงไม่ต่างอะไรจากลิงได้แก้ว ชะนีได้แหวน แทนที่จะถือๆ แขวนๆ กันไว้ จนกลายเป็นความอหังการ ที่อาจไปเกะกะระรานเพื่อนบ้านต่างศาสนาไปได้โดยที่เราไม่รู้ตัว เราน่าจะเลิกถือพุทธกันเสีย แล้วหันมาลิ้มรสกับประสบการณ์ของการฝึกฝนปฏิบัติในวิถีแห่งพุทธกันดูบ้าง

http://contemplativedata.googlepages.com/nobuddhist.pdf

Tag ทั้งหมด: บทความ, ถือพุทธ, วิจักขณ์ พานิช, อหังการ, วิถีพุทธ, ธรรมจักร, อาณาจักร, พลังทางปัญญา, ความตื่น

๓๓. ปฏิบัติบูชา โดย วิจักขณ์ พานิช

บทความที่กระตุ้นเตือนให้คนได้เห็นความสำคัญของการปฏิบัติบูชาแทนที่การบูชาทางวัตถุ เพื่อที่จะได้สืบสานปณิธานที่แท้จริงของเหล่าอริยธรรมาจารย์เพื่อปฏิญาณตนเป็นทาสพระพุทธเจ้า

http://contemplativedata.googlepages.com/Practicingpuja.pdf

Tag ทั้งหมด: บทความ, พุทธทาส, วิจักขณ์ พานิช, สวนโมกข์, เชอเกียม ตรุงปะ, มหามุทรา, แม็กซ์ เวเบอร์, ปฏิบัติบูชา

๓๒. พิธีกรรมธรรมดา โดย วิจักขณ์ พานิช

บทความที่เล่าประสบการณ์ในการเข้าร่วมพิธีรับไตรสรณคมน์ของชาวอเมริกันพุทธ ที่แฝงไว้ด้วยความหมายในความเรียบง่ายทุกๆขั้นตอนของพิธีกรรม

http://contemplativedata.googlepages.com/ordinaryritual.pdf

Tag ทั้งหมด: บทความ, พิธีกรรม, วิจักขณ์ พานิช, ไตรสรณคมน์, ธรรมดา, บาลี, ปฏิญาณตน, ผู้ลี้ภัย, อุปัชฌาจารย์

๓๑. ออกบวชกันเถอะ โดย วิจักขณ์ พานิช

บทกวีที่สะท้อนความเข้าใจในคำว่า "ละ" "สละ" หรือ "บวช" ในฐานะพื้นฐานแห่งกระบวนการการการฝึกตน

http://contemplativedata.googlepages.com/renunciation.pdf

Tag ทั้งหมด: บทกวี, บวช, วิจักขณ์ พานิช, อนาคาริก, ธรรมดา, เสียงภายใน, นักเดินทาง

๓๐. Spiritual Bypassing มายาภาพจิตวิวัฒน์ โดย วิจักขณ์ พานิช

Spiritual Bypassing เปรียบได้กับ ความปรารถนาจะหาทางลัดหรือทางเบี่ยงสู่พระนิพพานในแบบที่ไม่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหา ความทุกข์ ความเป็นจริงที่เจ็บปวดของชีวิต หลีกหนีที่จะเผชิญต่อจิตใจของตัวเองที่ยังเต็มไปด้วยความคับแคบ ความกลัว ความหมกมุ่น ความเย่อหยิ่งหรือ ความยึดมั่นถือมั่นตามความเชื่อของตน จอห์น เวลวูด ได้กล่าวถึงผลที่เกิดขึ้นว่า คนเหล่านั้นกลับใช้ธรรมะและการปฏิบัติธรรมเป็นหนทางที่จะเสกสร้าง “ตัวตนทางจิตวิญญาณ (Spiritual Identity)” ซึ่งจริงๆแล้วมันก็คือ อัตตาที่คับแคบอันเดิม ที่พวกเขาไม่สามารถทนได้ ในขณะเดียวกันก็ไม่อยากที่จะเผชิญหน้ากับมัน

http://contemplativedata.googlepages.com/SpiritualBypassing.pdf

tag ทั้งหมด: จิตวิวัฒน์, ตัวตนทางจิตวิญญาณ, บทความ, วิจักขณ์ พานิช, ธรรมดา, พุทธสภาวะ, ความตื่น, ทางเบี่ยงทางจิตวิญญาณ, เสียงด้านใน, เชอเกียม ตรุงปะ

๒๙. การศึกษาบนความศิโรราบ โดย วิจักขณ์ พานิช

การศึกษาบนพื้นฐานของการศิโรราบไม่ใช่การศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างสยบสยอมหรืออย่างดัดจริต การศิโรราบ คือการรับฟังเสียงด้านใน ให้ความเคารพและเชื่อมั่นในสิ่งที่ตัวเองเป็น เราให้ความศรัทธากับทุกประสบการณ์ที่ตัวเองเคยผ่านมา ไม่ว่ามันจะดีจะร้ายแค่ไหนในสายตาผู้อื่น เราศิโรราบและภาคภูมิใจในตัวเองที่อย่างน้อยเราก็สามารถยืนหยัดเรียนรู้ชีวิตมาได้จนถึงวินาทีนี้ เราพร้อมที่จะหลอมรวมเอาทุกอย่างที่มีอยู่ในตัวเรา เอามันออกมาใส่หม้อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่นอย่างไม่เขินอาย

http://contemplativedata.googlepages.com/surrendereducation.pdf

Tag ทั้งหมด: บทความ, วิจักขณ์ พานิช, ศิโรราบ, เอาชีวิตเข้าแลก, ปริยัติ, ปฏิเวธ, อารมณ์, การเปลี่ยนแปลงภายใน, กระบวนการ, ลอกเลียน

๒๘. ย่ำเหยาะเหยาะ ฝนเปาะแปะ โดย วิจักขณ์ พานิช

บทกวีที่สะท้อนถึงแรงดลใจบนเส้นทางแห่งการฝึกตน ในการเผชิญกับทุกประสบการณ์ขึ้นๆลงๆของชีวิต

http://contemplativedata.googlepages.com/thepathisthegoal.pdf

Tag ทั้งหมด: การเดินทาง, บทกวี, วิจักขณ์ พานิช, อุดมคติ, มุ่งมั่น, เส้นทางการฝึกตน

๒๗. อย่ามัวสับสนไปกับกลหลอกเด็ก โดย วิจักขณ์ พานิช

บทกวีอันเต็มไปด้วยลูกเล่น สะท้อนถึงความคิดฟุ้งซ่านล้านแปดที่เกิดขึ้นในการภาวนา ที่ผู้ฝึกจะต้องรู้เท่าทัน

http://contemplativedata.googlepages.com/trickortreat.pdf

Tag ทั้งหมด: บทกวี, ฟุ้งซ่าน, วิจักขณ์ พานิช, เชอเกียม ตรุงปะ, กลวิธีหลอกตัวเอง, ภาวนา